การดูแลผู้สูงอายุที่บ้านนั้น เป็นงานที่ต้องการการทุ่มเททั้งเรื่องเวลาและความพยายามอย่างมาก ให้ฐานะลูกหลานที่ต้องทำหน้าที่ดูแลท่านในยามแก่ชรา เราควรใส่ใจถึงความต้องการของผู้สูงอายุ และปัจจัยด้านอื่นเพื่อเป็นแนวทางในการเลือกวิธีการดูแลท่าน
อย่างไรก็ตามหากผู้สูงอายุตัดสินใจมาอยู่ร่วมด้วยกันกับเราที่บ้านแล้ว เป็นที่แน่นอนว่าต้องมีการปรับเปลี่ยนกิจกรรมและโครงสร้างบ้างอย่างในบ้านเพื่อความปลอดภัย และเพื่อสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุ ดังนั้นเราจึงควรศึกษาพื้นฐานของการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ดูแล และสมาชิกในครอบครัวท่านอื่นๆ ด้วย
สารบัญเนื้อหา
สรุปวิธีการดูแลผู้สูงอายุในบ้าน

อันดับที่ 1 ตรวจสอบทางเดินต่างๆ
เจ้าบ้านควรตรวจสอบความปลอดภัยในบ้านเป็นอันดับแรก เราควรตรวจดูทางต่างระดับ บันไดและช่องทางเดินต่างๆ ว่ามีความปลอดภัยเหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุหรือไหม ในกรณีที่ผู้สูงอายุใช้รถ วีลแชร์ หรือรถเข็นไฟฟ้า เราควรจัดเตรียมทางลาดในองศาที่เหมาะสม และปรับเปลี่ยนช่องประตูให้มีขนาดเหมาะสมกับรถเข็นไฟฟ้า
รวมถึงการจัดการกับสิ่งกีดขวางต่างๆ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถขับขี่รถเข็นไฟฟ้าในบริเวณบ้านได้อย่างปลอดภัย รวมถึงควรติดตั้งเครื่องตรวจจับควันไฟ และตรวจสอบการใช้งานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อความปลอดภัย เพราะผู้สูงอายุมักหลงลืมเป็นประจำ เครื่องตรวจจับควันไฟจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในบ้านที่มีผู้สูงอายุอาศัยอยู่
อันดับ 2 เพิ่มความราวจับ
ควรเพิ่มราวจับในห้องน้ำ หรือบริเวณที่จำเป็น เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ใช้ราวจับนั้นในการผยุงตัวลุกหรือนั่ง เพื่อความปลอดภัยและเพื่อให้ท่านสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในบางเวลา
อันดับที่ 3 ติดตั้งแผ่นและเทปกันลื่น
ติดแผ่นกันลื่นหรือเทปกันลื่นบริเวณห้องน้ำ หน้าอ่างอาบน้ำ บันได ในห้องครัวเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการลื่นหกล้ม หากห้องน้ำมีพรมหรือเสื้อน้ำมัน ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าพรมเหล่านั้นถูกยึดติดกับพื้น อย่างแน่นหนา
รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ไม่ควรเสียบปลั๊กทิ้งไว้เมื่อไม่ใช้งาน และควรเก็บให้ห่างจากบริเวณที่เปียกชื่น และเมื่อผู้สูงอายุต้องการอาบน้ำ ควรมีเก้าอี้อาบน้ำ หรือขับถ่ายที่เหมาะสม ไม่ควรใช้รถเข็นวีลแชร์ หรือนำรถเข็นไฟฟ้าเข้าไปในบริเวณห้องน้ำ
อันดับที่ 4 ติดตั้งไฟนำทางแสงสว่าง
ติดตั้งไฟนำทางบริเวณทางเดินและบริเวณที่สำคัญ เช่นในห้องนอน ทางเดินไปยังห้องต่างๆ เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถมองเห็นทางเดินได่อย่างชัดเจนในยามค่ำคืน
อันดับที่ 5 อุปกรณ์สื่อสาร
จัดเตรียมโทรศัพท์ อินเตอร์คอม หรืออุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ในบริเวณห้องนอนเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถติดต่อกับผู้ดูแลหรือญาติๆ ได้สะดวก ในมือถือ ให้ตั้งปุ่มโทรออกกรณีฉุกเฉินไว้
พยายามให้ผู้สูงอายุพกอุปกรณ์สื่อสารนั้นติดตัวไว้ตลอดเวลา เมื่อไม่มีผู้ดูแลอยู่ใกล้ตัว และเมื่อทิ้งให้ผู้ใหญ่อยู่ตามลำพัง ควรเข้ามาดูแลทุกๆ ชั่วโมง และผู้ที่ดูแลควรที่เบอร์ติดต่อที่สำคัญ อาทิเช่น โรงพยาบาล แพทย์ประจำตัว หรือผู้ที่ติดต่อได้ในกรณีฉุกเฉิน
อันดับที่ 6 จัดตารางสำหรับผู้สูงอายุ
ควรมีการจัดตารางกิจกรรมต่างๆ เพื่อผู้สูงอายุ ถึงแม้เป็นผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองโดยใช้รถเข็นไฟฟ้า ผู้ดูแลควรจัดตารางให้ผู้สูงอายุได้ออกกำลังกาย เพื่อเป็นการเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
และควรมีการจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อให้ผู้สูงอายุรู้สึกผ่อนคลาย กิจกรรมเหล่านี้อาจจะเป็นการ การพาท่านออกไปพบแพทย์ ไปซื้อของ ออกกำลังกายในสวนสาธารณะ หรือการทำอาหารเพื่อรับประทานรวมกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการสายสัมพันธ์ของคนในครอบครัว และทำให้ผู้สูงอายุไม่รู้สึกโดดเดี่ยว ไม่รู้สึกเป็นภาระกันคนรอบข้าง
สรุปวิธีการดูแลผู้สูงอายุในบ้าน
วัยผู้สูงอายุเป็นวัยที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งการเอาใส่ใจร่างกาย และจิตใจ เพราะการทำงานร่างกายเริ่มเสื่อมถอย มีโอกาสเสี่ยงให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ทุกเมื่อ ไม่เว้นแม้กระทั่งในบ้านของตัวเอง ดังนั้นผู้ดูแลต้องเตรียมรับมือให้พร้อมกับวิธีการดูแลผู้สูงอายุในบ้าน เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลท่านได้อย่างปลอดภัย