Tag Archives: วิธีดูแลรถเข็นไฟฟ้า

วิธีการดูแลรถเข็นไฟฟ้าหรือวิลแชร์ไฟฟ้า

วิธีดูแลรักษารถเข็นไฟฟ้า

สังคมทั่วโลกในปัจจุบันเริ่มมีจำนวนของผู้สูงอายุมากขึ้น เมื่อเริ่มก้าวเข้าสู่วัยของผู้สูงอายุก็มักจะทำให้ร่างกายและสุขภาพหลายๆส่วนถดถอย ไม่ว่าจะเป็นพละกำลังก็ลดน้อยลง เรี่ยวแรงที่เคยมีก็เริ่มถดถอย รวมไปถึงบางท่านก็จะเริ่มมีปัญหาสุขภาพ มีโรคประจำตัว และมีปัญหาเรื่องความเสื่อมของกระดูกข้อเข่า กระดูกสันหลังเป็นต้น จึงเกิดนวัตกรรมใหม่ๆที่มาเป็นตัวช่วยให้ผู้สูงอายุได้ใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมด้านการแพทย์ การคมนาคม ต่างๆ รถเข็นไฟฟ้าหรือวิลแชร์ไฟฟ้าก็เป็นอีกนวัตกรรมที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกและเป็นตัวช่วยให้ผู้สูงอายุและรวมไปถึงผู้ที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายได้ไปไหนมาไหนและทำกิจกรรมต่างๆได้ตามปกติ รถเข็นไฟฟ้าเป็นเป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่พัฒนาขึ้นมาจากรถเข็นแมนนวน ที่จะมีอุปกรณ์ต่างๆเพิ่มขึ้นมาเพื่อให้รถเข็นสามารถขับเคลื่อนได้โดยไม่ต้องใช้แรงคน ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆของรถเข็นไฟฟ้าก็ต้องมีการดูแลตามลักษณการใช้งานของแต่ละส่วน ทางรถเข็นไฟฟ้าcruisemate จึงได้จัดทำเป็นบทความนี้ขึ้นมาเพื่อแนะนำวิธิการดูแลรักษารถเข็นไฟฟ้าหรือวิลแชร์ไฟฟ้าให้ใช้งานได้นานๆเพื่อเป็นผู้ช่วยในการเดินทางของหลายๆท่าน องค์ประกอบของรถเข็นไฟฟ้าหรือวีลแชร์ไฟฟ้า                 รถเข็นไฟฟ้าพัฒนามาจากรถเข็นแมนนวน ซึ้งจะมีอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆเพิ่มขึ้นมาเพื่อให้รถเข็นไฟฟ้าสามารถวิ่งได้โดยไม่ต้องใช้แรงคนเข็น อุปกรณ์หลักๆของรถเข็นไฟฟ้าหรือวิลแชร์ไฟฟ้าได้แก่ จอยสติ๊กบังคับทิศทาง มอเตอร์ขับเคลื่อนล้อซ้าย ล้อขวา แบตเตอรี่จ่ายพลังงานให้รถเข็นขับเคลื่อน และที่ชาร์จแบตเตอรี่ ซึ่งอุปกรณ์แต่ละอย่างก็จะมีการทำงานที่แตกต่างกัน และมีวิธีการดูแลรักษาดังนี้ การดูแลรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้า                 การดูแลรักษาจอยสติ๊กบังคับทิศทาง จอยสติ๊กเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมสั่งการและบังคับทิศทางได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นเดินหน้า ถอยหลัง เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา หรือกลับรถหมุนรอบตัวซึ่งข้างในจอยสติ๊กจะมีวงจรแผงควบคุมที่ไม่สามารถโดนน้ำหรือความชื้น หรือโดนกระแทกแรงๆได้ เพราะจะทำให้อุปกรณ์ได้รับความเสียหาย การดูแลรักษามอเตอร์ ในรถเข็นไฟฟ้าหนึ่งคันจะมีมอเตอร์ขับเคลื่อนล้อจำนวนสองข้าง มอเตอร์ทั้งสองข้างจะทำงานแยกอิสระจากกันทำให้รถเข็นไฟฟ้ามีวงเลี้ยวที่แคบ มอเตอร์รถเข็นไฟฟ้าส่วนใหญ่จะแบ่งเป็นสองประเภทหลักๆคือมอเตอร์ที่มีแปลงถ่าน กับมอเตอร์ที่ไม่มีแปลงถ่านซึ่ง ซึ่งการดูแลก็จะต่างกัน สำหรับมอเตอร์ที่ไม่มีแปลงถ่านก็ไม่จำเป็นต้องดูแลรักษาอะไรเพราะสามารถใช้งานได้ระยะยาวแต่ต้องระวังเรื่องของการเปลี่ยนระบบเวลาใช้เป็นระบบไฟฟ้ากับแมนนวนให้เปลี่ยนระบบก่อนทุกครั้ง ส่วนมอเตอร์ที่มีแปลงถ่านนั้นมีโอการที่ใช้งานไปแล้วแปลงถ่านจะสึกหรือหมดสภาพก็ต้องเปลี่ยนมอเตอร์ใหม่ มอเตอร์รถเข็นไฟฟ้าสามารถใช้งานได้ทั้งระบบไฟฟ้าและระบบแมนนวน การดูแลรักษาแบตเตอรี่ สำหรับแบตเตอรี่ของรถเข็นไฟฟ้าหรือวีลแชร์ไฟฟ้าจะแบ่งเป็นสองประเภทหลักๆคือแบตตเอรี่ลิเทียมและแบตเตอรี่กรดตะกั่ว แบตเตอรี่ทั้งสองประเภทจะมีความแตกต่างกันนเรื่องของน้ำหนักแบตเตอรี่ อายุการใช้งาน ขนาดและการออกแบบรูปทรง […]

วิธีการดูแลรักษาวีลแชร์ไฟฟ้าของคุณ

ดูแลรถเข็นไฟฟ้า

สำหรับผู้ที่ต้องใช้งานวีลแชร์ไฟฟ้าเป็นประจำในทุกๆวัน การดูแลรักษารถเข็นของคุณให้อยู่ในสภาพที่ดีเพื่อให้การใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง และ อยู่กับเราเป็นเวลานาน ถือเป็นเรื่องที่ผู้ใช้งานต้องคอยมั่นตรวจสอบและบำรุงรักษาเป็นประจำ โดยปกติแล้ว เก้าอี้รถเข็นได้ถูกออกแบบมาให้มีการใช้งานที่ยืนยาว ด้วยการผลิตจากโครงสร้างที่แข็งแรง การบำรุงรักษาจึงสามารถทำได้ง่ายๆ ไม่กี่ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ สารบัญเนื้อหา การรักษาแบตเตอรี่ Electromagnetic Break ความสามารถในการเปียกน้ำ เบาะรองนั่งและพนักพิง สรุปวิธีการดูแลวีลแชร์ไฟฟ้าเบื้องต้น การดูแลรักษาแบตเตอรี่วีลแชร์ไฟฟ้า อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ โดยปกติทั่วไปแล้ว สามารถที่จะใช้งานได้ถึง 3-4 ปี โดยหากเราดูแลรักษาแบตเตอรี่ ตามที่ควรจะเป็นแล้ว ก็จะสามารถยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่ได้อีกด้วย แบตเตอรี่ของรถเข็นไฟฟ้าพับได้ ถ้าผู้ใช้งานได้ใช้งานไฟฟ้าของรถเข็นในทุกๆวัน ก็จะถือเป็นการกระตุ้นแบตเตอรี่ไปในตัวเป็นปกติอยู่แล้ว แต่หาก ผู้ใช้งาน ไม่ได้ใช้งานวีลแชร์ไฟฟ้าพับได้ เป็นเวลานาน(มากกว่า 2 เดือนขึ้นไป) สิ่งที่ผู้ใชช้งานควรจะต้องทำคือ การชาร์จไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่ เพื่อเป็นการกระตุ้นไฟฟ้าที่อยู่ในแบต โดยคำแนะนำเบื้องต้นคือ หากไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานานๆ ควรชารจเพื่อเป็นการกระตุ้นแบตเตอรี่ 2 เดือน ต่อ 1 ครั้ง กลับสู่สารบัญ ระบบกลไก Electromagnetic Break สำหรับวีลแชร์ไฟฟ้าที่สามารถทำงานได้หลายระบบ ไม่ว่าจะเป็นด้วยระบบของการบังคับเคลื่อนที่ด้วยไฟฟ้า หรือระบบที่สามารถมีคนช่วยเข็นได้ การทำงานของทั้ง […]